วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คลื่น

คลื่นเป็นการส่งผ่านพลังงานจากการสั่น จากแหล่งกำเนิดคลื่นไปยังที่ต่างๆ ซึ่งมีทั้งต้องส่งผ่านตัวกลาง และไม่ต้องผ่านตัวกลาง

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สภาพสมดุล

Equilibrium เป็นสภาพสมดุลที่เกิดกับระบบทั่วๆไป ซึ่งมีเงื่อนไขสองข้อได้แก่
1 สภาพแรงลัพท์ที่กระทำเป็นศูนย์
2 สภาพโมเมนต์ลัพธ์เป็นศูนย์
http//www.rmutphysics.com/charud/scibook/balance/index8-2.html

ตัวอย่างการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์โมนิก

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์โมนิกในชีวิตประจำวันได้แก่การทำงานของตะแกรงโรงสีข้าว และลูกตุ้มนาฬิกา

ตัวอย่างการเคลื่อนที่แบบหมุน

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของการเคลื่อนที่แบบหมุนเห็นจะเป็นล้อรถแข่งขระกำลังวิ่ง

วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การเคลื่อนที่แบบหมุน(Rotational Motion)

การเคลื่อนที่แบบหมุนเป็นการเคลื่อนที่ ที่มีทั้งการเลื่อนตำแหน่งและการหมุนไปด้วยกัน ทำให้มีพลังงานจลน์ของการเคลื่อนที่และพลังงานจลน์ของการหมุนไปพร้อมๆ กัน จึงหยุดยั้งการเคลื่อนที่แบบนี้ได้ยาก ตัวอย่างเช่น ล้อรถที่กำลังวิ่ง กระสุนปืนที่กำลังพุ่งไปข้างหน้าเป็นต้น

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การเคลื่อนที่แบบหมุน

ความจริงแล้วการเคลื่อนที่แบบหมุนเป็นการเคลื่อนที่สองแบบอยู่ในตัวมัมนเอง ได้แก่
๑ การเคลื่อนที่แบบเลื่อนที่ คือมีการเลื่อนตำแหน่งของวัตถุนั่นเอง
๒ การหมุนรอบแกนใด ๆ
ตัวอย่างง่ายๆของการเคลื่อนที่แบบหมุนนี้ได้แก่ล้อรถยนต์ขณะรถยนต์กำวังวิ่งบนถนน

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การเคลื่อนที่โพรเจคไทล์


Projectile mottion เป็นการเคลื่อนที่ซึ่งมีการเลื่อนตำแหน่งในสองแกนไปพร้อมกันดังนี้
- ในแกนนอน มีความเร็วคงตัวตลอดการเคลื่อนที่
- ในแกนดิ่งมีการเปลี่ยนแปลงของความเร็วตลอดการเคลื่อนที่

ฟิสิกส์ครูวัฒนา


การเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์







การเคลื่อนที่แบบโปรเจคไทล์มีความเร็วในแกนสองแกนที่ตั้งฉากกัน
สังเกตว่าลูกศรบอกความเร็วในแนวราบจะ
เท่าเดิมทุกตำแหน่ง แต่ลูกศรบอกความเร็วในแนวดิ่งจะเปลี่ยนแปลงขนาดและทิศทางไปเรื่อยๆ
นั่นคือในแกนราบความเร็วคงตัว ส่วนแกนดิ่งความเร็วมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของการเคลื่อนที่


ภาพต่อมาเป็นการเคลื่อนที่แบบวงกลมแต่เกิดเงาเป็นการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์โมนิก



การเคลื่อนที่แบบวงกลมเกิดจากมีแรงกระทำในทิศตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ตลอดเวลา ทิศทางของแรงพุ่งไปที่จุดคงที่จุดหนึ่งคือจุดศูนย์กลางวงกลมนั่นเอง จึงเกิดความเร่งสู่ศูนย์กลางตามทิศของแรงกระทำ ก้อนกลมๆ สีแดงนี้คือวัตถุที่เคลื่อนที่แบบวงกลม


ก้อนสีน้ำเงินนี้เป็นเงาของก้อนสีแดง ซึ่งก้อนสีน้ำเงินจะเคลื่อนที่ไปและกลับซ้ำๆ ทางเดิม เรียกว่า"Simple Harmonic Motion" เงาของการเคลื่อนที่นี้จะมีขนาดความเร่งสูงสุดที่ปลายสุดของเส้นทางการเคลื่อนที่ทั้งสองด้าน แต่ที่กึ่งกลางของเส้นทางการเคลื่อนที่จะไม่มีความเร่ง แต่มีความเร็วสูงสุดที่นั่น

การเคลื่อนที่ทั้งสองแบบนี้มีส่วนสัมพันธ์กันทั้งอัตราเร็วเชิงมุมและเชิงเส้น